พระคาถา ตำรับ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม



คาถาหนุมาน ตำรับ หลวงพ่อพูล


ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วจึงภาวนาว่า

โอม หะนุมานัง พะพลับพลานัง

พุทธัง อำโน พุทโธ กินนัง จะปาคะรัง จึงมาบังกายา

ธัมมัง กินโน ธัมโม อำนัง จะปาคะรัง จึงมาบังกายา

สังฆัง อำโน สังโฆ กินนัง จะปาคะรัง จึงมาบังกายา

สัพเพชะนา พะหูชะนา เตชะสุเนมะ ภูจะนาวิเว ฯ

******************


คาถาเสืออาคม ตำรับ หลวงพ่อพูล


ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วจึงภาวนาว่า

พยัคฆะ ราชานะ อิสะนะสุ สิงหะคะฆะ

******************


คาถาสิงห์เมตตามหาบารมี ตำรับ หลวงพ่อพูล


ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วจึงภาวนาว่า

ตะมัตถัง ปะกาเสนโต ราชะสีโห ราชะราชา

ตะถาอาหะ นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ

******************

คาถานะเมตตา ตำรับ หลวงพ่อพูล

ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วจึงภาวนาว่า

เอหิลาภังมานิมามา เอหิโภคังมานิมามา

นะร่ำไรรักใคร่เห็นหน้า โมละรวยช่วยพามา

พุทถามหา ธาร้องทัก ยะกวักมือ นะกะโรโหติ

จงมาบังเกิดเป็นนะเมตตา เงินทองไหลมา นะชาลีติ

******************


บทแผ่เมตตา และ อุทิศส่วนกุศล


บทสวดแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร

อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา

อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา

อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา

อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี

อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา

บทแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ

อะหัง นิททุกโข โหมิ

อะหัง อะเวโร โหมิ

อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ

บทแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา อะเวราโหนตุ

อัพยาปัชฌาโหนตุ อะนีฆาโหนตุ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ



คาถาบูชาพระพุทธชินราช


ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ จากนั้นจึงกล่าว

อิเมหิ นานาสักกาเรหิ อะภิปูชิเตหิ

ทีฆายุโก โหมิ อะโรโค สุขิโต

สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ปิยัง มะมะ

ปะสิทธิ ลาโภ ชะโย โหตุ สัพพะทา

พุทธะชินะราชา อภิปาเลตุ มัง นะโมพุทธายะฯ



พระคาถา ตำรับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค



ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ จากนั้นจึงกล่าว พระคาถาบทนำ (ครั้งเดียว)

พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ

จากนั้นจึงเริ่มสวด พระคาถา ว่า

วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย

พุทธัสสะ มาณี มามะ พุทธัสสะ สวาโหม.

สวด 3 จบ, 5 จบ, 7 จบ หรือ 9 จบ แล้วแต่สะดวก

หมั่นสวดพระคาถานี้อย่างสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผล

******************

คาถามหาอำนาจ ตำรับ หลวงพ่อปาน

ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ จากนั้นจึงกล่าว

เอวัง ราชะสีโห มะหานาทัง สีหะนาทะกัง

สีหะนะเม สีละเตเชนะ นามะ ราชาสีโห

อิทธิฤทธิ์ พระพุทธังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง

อิทธิฤทธิ์ พระธัมมังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง

อิทธิฤทธิ์ พระสังฆังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง

สำหรับพระคาถามหาอำนาจนั้น บางตำรากล่าวไว้ว่า หากผู้ประพฤติดีมีศีลธรรม

ใช้เสกน้ำล้างหน้าในยามเช้า อำนาจบารมีจะบังเกิด ศัตรูภัยพาลจะพ่ายสิ้น

******************

คาถาอิทธิฤทธิ์ ตำรับ หลวงพ่อปาน

พุทโธ พุทธัง นะ กันตัน อะระหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ

บทนี้เป็นคาถาป้องกันตัว เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีศาสตาวุธร้ายแรงให้ภาวนาดังนี้

อุทธัง อัทโท นะโม พุทธยะ



คาถาอาวุธ (ตำรามนต์พิธี)


สักกัสสะ วะชิราวุธัง

ยะมัสสะ นัยยาวุธัง

อาฬะวะกัสสะ ทุสาวุธัง

เวสสุวัณณัสสะ คะธาวุธัง

จัตตาโร วา อาวุธานัง

เอเตสัง อานุภาเวนะ

สัพเพ ยักขา ปะลายันติ.

******************

พระคาถานี้ ใช้เสกมือหรือเสกศัสตราอาวุธได้ เมื่อเวลาจะประจัญบานกับศัตรู

ใช้เสกต้นข่าต้นไพลขับไล่ตีผี ให้หนีกระเจิง ดีนักแล

* คัดลอกจาก "ตำรามนต์พิธี" โดย ท่านพระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวัณโณ)



คาถาบูชาพระสังกัจจายน์


(ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ)

กัจจานะ จะ มหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะสุภา

สิตัง พุทธะตังสะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง

ปิโยพรหม นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง

สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิตถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯ


คาถาพระเจ้า 5 พระองค์ (บูชาหลวงพ่อโสธร)


ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ จากนั้นจึงกล่าว

นะ ทรงฟ้า โม ทรงดิน พุทธ ทรงสินธุ์ ธา ทรงสมุทร ยะ ทรงอากาศ

พุทธังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด ศัตรูภัยพาล วินาศสันติ

นะกาโร กุกกุสันโธ สิโรมัชเฌ โมกาโร โกนาคะมะโน นานาจิตเต พุทธกาโร

กัสสะโป พุทโธ จะ ทะเวเนเต ธากาโร ศรีศากกะยะมุนี โคตะโม ยะกันเน ยะกาโร

อะริยะ เมตตรัยโย ชิวหาทีเต ปัญจะพุทธา นะมามิหัง



คาถาบูชาพระพรหม


โอม ปะระเมสะนะมัสการัม องการะนิสสะวะ รัง พรหมเรสสะยัม

ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัม ทะระมา ยิกยานัง ยะไวยะลา

คะมุลัม สะทานันตะระ วิมุสะตินัน นะมัตเต นะมัตเตร

จะ อะการัง ตะโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมัน ตะรามา

กัตถะนารัมลา จะสะระวะปะติตัม สัมโภพะ กลโล ทิวะทิยัม มะตัมยะ



คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)


พระคาถา พระพุทธเจ้าชนะมาร (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)

ปัญจะมาเร ชิโนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสติ
ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลังฯ

พระคาถาบทนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ป้องกันภัยอันตรายได้ทั้งปวง



พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า



อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ
อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ


ขออัญเชิญคุณแห่งพระพุทธเจ้าอันวิเศษ 
คุณแห่งกระแสพระนิพพานอันประเสริฐ 
ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสรรเสริญแล้ว 
จงเป็นมหาวิภูษิตาภรณ์ประดับด้วยมงกุฎทิพย์
และเครื่องทรงแห่งพระเจ้ามหาจักรพรรดิ 
ครอบคลุมข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ

อานิสงส์ของพระคาถานี้ เรียกได้ว่าครอบจักรวาล นำไปใช้ในทางกุศลได้ทุกเรื่อง โดยมีประวัติของการใช้พระคาถานี้มายาวนาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 ท่านก็ทรงพระคาถานี้เป็นประจำ มีที่ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์ ก็ครั้งที่ถูกทูตต่างประเทศนำม้าเทศตัวใหญ่แต่เป็นม้าพยศ มาท้าให้ท่านทรง พระองค์ท่าน ได้ใช้พระคาถานี้เสกหญ้าให้ม้ากินก่อน ม้าตัวนั้นก็กลับเชื่องให้พระองค์ทรงม้าแต่โดยดี เรื่องนี้ทำให้รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงสร้างพระบรมรูปทรงม้าถวายเสด็จพ่อของท่านได้ทรงแฝงนัยยะ
แห่งกฤษดาอภินิหารนี้เพื่อเทิดทูนพระคุณท่านเอาไว้

หลักในการภาวนาพระคาถาให้ศักดิ์สิทธิ์นั้น มีพื้นฐานจากจิตเป็นสำคัญ หากจิตมีสมาธิสูงตั้งมั่น พระคาถาก็จะทรงความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น เมื่อจิตสถิตอยู่ในสมาธิ ให้ทรงมงกุฎพระพุทธเจ้านี้เอาไว้ตลอดเวลา ประหนึ่งการทรงอารมณ์ในพุทธานุสติกรรมฐาน



บทสวดบูชาองค์พระพิราพ

พระพิราพ คือ อวตารปางหนึ่งของ พระอิศวร หรือ ศิวะอวตาร ถือเป็นบรมครูสูงสุดของทั้งฝ่ายนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ โดยเชื่อกันว่า พระองค์นั้นเป็นภาคของ พระอิศวรปางไภรวะ (ปางดุร้าย) เสมือนหนึ่งพระแม่กาลี ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของ พระอุมา ในคติดั่งเดิมเรียกองค์พระพิราพว่า พระไภรวะ พระไภราวะ หรือ พระไภราพ ซึ่งเป็นคนละองค์กันกับ ยักษ์วิราธ หรือ พระพิราพป่า ในเรื่องรามเกียรติ์

พระองค์ คือ บรมครูยักษ์ เป็นมหาเทพแห่งสงคราม การทำลายล้าง บันดาลได้ทั้งความเป็นและความตาย เป็นมหาเทพปางขจัดความชั่วร้าย และขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้สิ้นไป โดยในประเทศอินเดียถือว่าพระพิราพ หรือ พระไภรวะ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดท่ารำที่เรียกว่า วิจิตรตาณฑวะ ซึ่งเป็นท่ารำท่าหนึ่งใน 108 ท่ารำของพระศิวะ ดังนั้นจึงถือว่าท่านเป็น นาฏราช ที่หมู่นาฏศิลป์อินเดียให้ความเคารพยำเกรง เมื่อนาฏดุริยางค์ศิลป์ของไทยนับเอาศาสตร์แขนงนี้มาจากอินเดีย คติการนับถือพระอิศวรนารายณ์ทวยเทพทั้งหลาย รวมไปถึง พระไภรวะ จึงติดตามมา โดยคติการนับถือพระพิราพ กับการแสดงนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบันทึกหลักฐานเป็นที่แน่ชัดในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)

กรมศิลปากรได้มีการชำระประวัติของ พระพิราพ โดยนักวิชาการ และมีการเผยแพร่สร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลทั่วไป แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก โดยในปัจจุบันคติการนับถือ พระพิราพ แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากครูบาอาจารย์ และพระเกจิอาจารย์หลายสำนัก นิยมสร้างวัตถุมงคลที่มีลักษณะของพระพิราพขึ้น โดยส่วนใหญ่มักจะมีบทสวดบูชาดังนี้

อิมัง พุทธัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
ธัมมัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
สังฆัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
พุทโธ สิทธิฤทธิ ธัมโม สิทธิฤทธิ สังโฆ สิทธิฤทธิ
สุขะ สุขะ ไชยะ ไชยะ ลาภะ ลาภะ
สัพพะธัมมานัง ประสิทธิเม ประสิทธิเต
พุทโธ สวัสดีมีไชย ธัมโม สวัสดีมีไชย สังโฆ สวัสดีมีไชย
อิมัง ปทีปัง สุรังคันธัง อธิฏฐามิ

* บทสวดบูชาองค์พระบรมครูพระพิราพ คัดลอกมาจาก
"สมุดพระตำรา พิธีไหว้ครู และพิธีครอบโขน ละคร" ของ พระยานัฏการุรักษ์



คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ


คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ

ตั้ง นะโม 3 จบ ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ และ องค์ท่านท้าวเวสสุวรรณ

ปุตตะ กาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชาชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อรหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ


คาถาชุมนุมเทวดา และ คาถาอัญเชิญเทวดา (กลับ)


คาถาชุมนุมเทวดา (สิบสองตำนาน)

สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตรา คัจฉันตุ เทวะตา
สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง ฯ
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ฯ
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

คาถาอัญเชิญเทวดา (กลับ)

ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน
เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
สัพเพ เทวานุโมทันตุ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ สีลัง รักขันตุ สัพพะทา
ภาวะนาภิระตา โหตุ คัจฉันตุ เทวะตาคะตา
สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโสฯ

บทชุมนุมเทวดา  หรือที่นิยมเรียกกันว่า บทสัคเค คือ บทอัญเชิญเทวดาให้มาร่วมฟังธรรม
โดยมักจะใช้ขึ้นต้นก่อนสวดบทพระคาถาอื่นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลในการเจริญภาวนา



พระคาถาชินบัญชร


พระคาถาชินบัญชร ถือเป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดมาจากลังกา

โดยท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้ค้นพบจากคัมภีร์โบราณ

และได้ดัดแปลงแต่งเสริมเพื่อความมงคล ผู้ใดที่สวดภาวนาพระคาถานี้อยู่เป็นประจำ

สิริมงคลแห่งชีวิตนั้นจะบังเกิดแก่ตน โดยก่อนที่จะเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม 3 จบ

ระลึกถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พร้อมทั้งตั้งจิตอธิษฐานแล้วจึงเริ่มสวด

******************

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

******************

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง 

อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา 

อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ 

มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ 

******************

1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง 

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา 

สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน 

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ

โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก. 

5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล

กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร

นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว

7. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก

โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี

เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.

9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา

เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา

ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง 

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

12. ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา

วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา

วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล 

สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข

ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว

ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ

สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย

สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

******************

หากมีเวลาน้อย ไม่สามารถภาวนาบทเต็มได้ ให้ท่องบทย่อของพระคาถาชินบัญชร ดังนี้

ชินะปัญชะระปะริตตัง มัง รักขะตุ สัพพะทา

(ขอพระชินบัญชรปริตร จงรักษาข้าพเจ้า ตลอดกาลทุกเมื่อ)

หัวใจพระคาถาชินบัญชร

ชะ จะ ตะ สะ สี สัง หะ โก ทะ กะ เก นิ กุ โส

ปุ เถ เส เอ ชะ ระ ถะ ขะ อา ชิ วา อา วะ ชิ สัง อิ ตัง