พระพุทธชัยมงคลคาถา หรือ พาหุงมหาการุณิโก


พระพุทธชัยมงคลคาถา หรือที่นิยมเรียกว่า พระคาถาพาหุง ตามวรรคแรกของพระคาถา หรือ พาหุงมหาการุณิโก หรือ พาหุงมหากา นั้น เป็นพระคาถาโบราณที่กล่าวถึง การสรรเสริญชัยชนะทั้งแปดประการที่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า) ทรงมีเหนือมนุษย์และอมนุษย์ กล่าวคือ

บทที่ 1 สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ (ชนะพระยามาร ด้วยทานบารมี)
บทที่ 2 สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์ (ชนะอาฬะวกะยักษ์ ด้วยขันติบารมี)
บทที่ 3 สำหรับเอาชนะสัตว์ร้าย หรือ คู่ต่อสู้ (ชนะช้างนาฬาคีรี ด้วยมตตาบารมี)
บทที่ 4 สำหรับเอาชนะโจร (ชนะองคุลีมาล ด้วยการแสดงปาฏิหาริย์)
บทที่ 5 สำหรับเอาชนะการแกล้งใส่ร้าย กล่าวโทษ หรือคดีความ (ชนะนางจิญจมาณวิกา ด้วยความสงบ)
บทที่ 6 สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ (ชนะสัจจะกะนิครนถ์ ด้วยการปัญญาแห่งเจรจา)
บทที่ 7 สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย (ชนะพระยานาคนันโทปนันทะ ด้วยกุศโลบาย)
บทที่ 8 สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน (ชนะผกาพรหม ด้วยเทศนาญาณ)

โดยตามหลักนิยม ก่อนที่จะเริ่มภาวนา พระพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากาฯ) นั้น หากมีเวลาเพียงพอ ให้เริ่มขึ้นต้นด้วย บทสวดนมัสการพระพุทธเจ้า (ตั้งนะโม3จบ) , บทสวดไตรสรณคมน์ , บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จากนั้นให้เริ่มภาวนา บทพาหุงฯ และปิดท้ายด้วย บทมหากาฯ จึงจะถือว่าครบถ้วนกระบวนความ แต่หากมีเวลาที่จะภาวนาเพียงน้อยนิด ให้ใช้วิธีกำหนดจิตแล้วภาวนา พระคาถาหัวใจพาหุง ว่า พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ


บทสวดนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)

บทสวดไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

บทพาหุงฯ

1. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
2. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
3. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
4. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
5. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
6. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
7. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
8. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

* สวดให้ผู้อื่น หรือ สวดร่วมกับผู้อื่น ให้ใช้คำว่า เต
ถ้าสวดให้ตัวเอง ให้ใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

บทสวดมหาการุณิโก (ชัยยะปริตร)

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต* ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต* ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*

* สวดให้ผู้อื่น หรือ สวดร่วมกับผู้อื่น ให้ใช้คำว่า เต
ถ้าสวดให้ตัวเอง ให้ใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

** พรัหมะ อ่านว่า พรัมมะ


2 ความคิดเห็น: