ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก


ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก คือ พระคาถาโบราณที่เปิดกรุได้ ณ เมืองสวรรค์โลก ซึ่งจารเป็นอักษรขอมจารึกไว้ในใบลาน โดยมีความเชื่อว่า หากผู้ใดสวดมนต์ภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำ ผู้นั้นจะปราศจากทุกข์ภัย ไร้ซึ่งอันตรายใดๆ ทั้งหลาย ทั้งปวง โดยก่อนที่จะสวดมนต์ภาวนาพระคาถา ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก นั้น ผู้สวดพึงสำรวมทั้งกาย วาจา และใจ ระลึกถึงพระพุทธองค์ด้วยจิตอันสดใส แล้วจึงเริ่มสวดภาวนาอย่างตั้งใจและศรัทธา (ตั้งนะโม 3 จบ ก่อนสวดภาวนา)

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

๑. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา

๒. อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ

สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ

วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ

สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ สุคะตัง สิระสา นะมามิ

โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

๓. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

๔. อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ

ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ

สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ พุทธัง สิระสา นะมามิ

๕. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

๖. อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๗. อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๘. อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๙. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา

สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา

สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา

สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๐. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๑. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๒. กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชมภูทีปัญจะอิสสะโร

กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะ นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง

อา ปา มะ จุ ปะ ที มะ สัง อัง ขุ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ โส โส สะ

สะ อะ อะ อะ อะ นิ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ อิ สวา สุ สุ สวา อิ

กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ

๑๓. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะ อา ยาวะชีวัง

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา

๑๔. กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมา สัมพุทโธ

สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน

อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู

มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมมาสัททะ ปัญจะ สัตตะ

สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๕. ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุ ยะ ปะ กะ

ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๖. นิมมานะระติ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ

สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๗. ปะระนิมมิตะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๘. พรหมมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา

ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ

พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะฯ

๑๙. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ

วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ อัตติ อัตติ

มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๐. อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง

จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง

อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง

สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง

อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง

สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

๒๑. สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง

โมกขัง คุยหะกัง ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง

สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๒. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา

๒๓. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ

สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๔. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ

สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๕. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ

สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

๒๖. นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ

สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง

๒๗. นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

ยาวะ ตัสสะ หาโย นะโม อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

อุ อะมะ อาวันทา นะโม พุทธายะ นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ

อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา


พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)

๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก

๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วย
ความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว
ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า

๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส

๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า

๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ
ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และ ชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ
ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และ ชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ
ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และ ชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ
น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และ ชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ
อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และ ชั้นดาวดึงส์

๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ

๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน

๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ
คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ
คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ
คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค

๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ
คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ
คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ
คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล

๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป ธรรมะฝ่ายกุศล
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก
ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก
ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง
ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ
ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร

๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา
ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา
ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยม
ของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์
เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี

๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า
ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี
จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน

๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า
ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้
ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้
ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง



คาถาบูชาหลวงปู่ทวด


หลวงปู่ทวด หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือ สมเด็จพระราชมุนี สามีรามคุณูปจารย์ (ปู สามีราโม) คือ พระเกจิอาจารย์รูปสำคัญแห่งสยามประเทศ ซึ่งสันนิษฐานว่าท่านดำรงชีวิตอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยตำนานความศรัทธาของชาวไทยในปัจจุบันนั้นมักนิยมเชื่อกันว่า อุบัติเหตุเภทภัยต่างๆ นาๆ จะไม่บังเกิดแก่ผู้สักการบูชา ด้วยจิตที่ตั้งมั่นในความศรัทธาอย่างแน่นอน โดยการสักการบูชาหลวงปู่ทวด นั้น ก่อนภาวนาพระคาถา ให้ตั้ง นะโม 3 จบ ก่อน แล้วจึงภาวนาว่า

นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (3จบ)

ในระหว่างภาวนาพระคาถานั้น ให้น้อมจิตระลึกถึงองค์ท่าน ด้วยความตั้งมั่นและศรัทธา





พระพุทธชัยมงคลคาถา หรือ พาหุงมหาการุณิโก


พระพุทธชัยมงคลคาถา หรือที่นิยมเรียกว่า พระคาถาพาหุง ตามวรรคแรกของพระคาถา หรือ พาหุงมหาการุณิโก หรือ พาหุงมหากา นั้น เป็นพระคาถาโบราณที่กล่าวถึง การสรรเสริญชัยชนะทั้งแปดประการที่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า) ทรงมีเหนือมนุษย์และอมนุษย์ กล่าวคือ

บทที่ 1 สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ (ชนะพระยามาร ด้วยทานบารมี)
บทที่ 2 สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์ (ชนะอาฬะวกะยักษ์ ด้วยขันติบารมี)
บทที่ 3 สำหรับเอาชนะสัตว์ร้าย หรือ คู่ต่อสู้ (ชนะช้างนาฬาคีรี ด้วยมตตาบารมี)
บทที่ 4 สำหรับเอาชนะโจร (ชนะองคุลีมาล ด้วยการแสดงปาฏิหาริย์)
บทที่ 5 สำหรับเอาชนะการแกล้งใส่ร้าย กล่าวโทษ หรือคดีความ (ชนะนางจิญจมาณวิกา ด้วยความสงบ)
บทที่ 6 สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ (ชนะสัจจะกะนิครนถ์ ด้วยการปัญญาแห่งเจรจา)
บทที่ 7 สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย (ชนะพระยานาคนันโทปนันทะ ด้วยกุศโลบาย)
บทที่ 8 สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน (ชนะผกาพรหม ด้วยเทศนาญาณ)

โดยตามหลักนิยม ก่อนที่จะเริ่มภาวนา พระพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากาฯ) นั้น หากมีเวลาเพียงพอ ให้เริ่มขึ้นต้นด้วย บทสวดนมัสการพระพุทธเจ้า (ตั้งนะโม3จบ) , บทสวดไตรสรณคมน์ , บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จากนั้นให้เริ่มภาวนา บทพาหุงฯ และปิดท้ายด้วย บทมหากาฯ จึงจะถือว่าครบถ้วนกระบวนความ แต่หากมีเวลาที่จะภาวนาเพียงน้อยนิด ให้ใช้วิธีกำหนดจิตแล้วภาวนา พระคาถาหัวใจพาหุง ว่า พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ


บทสวดนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)

บทสวดไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

บทพาหุงฯ

1. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
2. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
3. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
4. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
5. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
6. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
7. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
8. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

* สวดให้ผู้อื่น หรือ สวดร่วมกับผู้อื่น ให้ใช้คำว่า เต
ถ้าสวดให้ตัวเอง ให้ใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

บทสวดมหาการุณิโก (ชัยยะปริตร)

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต* ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต* ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*

* สวดให้ผู้อื่น หรือ สวดร่วมกับผู้อื่น ให้ใช้คำว่า เต
ถ้าสวดให้ตัวเอง ให้ใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

** พรัหมะ อ่านว่า พรัมมะ


โชคดีที่มีความทุกข์


มนุษย์ คือ สิ่งมีชีวิตที่มักจะไม่ยอมหยุด เราไม่ยอมหยุดคิด หยุดกิน หยุดใช้ หยุดหา แม้ในบางเวลาที่เราผ่อนคลายร่างกายด้วยการนอนหลับตา เรายังไม่ยอมเลิกราที่จะคิดวิตกกังวล ด้วยเหตุนี้จึงมิใช่เรื่องแปลก ที่หลายคนมักจะรู้สึก “เหนื่อย” ...ยิ่งโต ยิ่งมี ยิ่งผ่านไปนานปีก็ยิ่งเหนื่อย ความอ่อนล้า เครียด ตึง เมื่อย จึงแปรสภาพเป็นกาฝากไม้เลื้อย เกาะกินจิตใจที่แสนจะเหน็ดเหนื่อย ให้สึกกร่อนไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็น “ความทุกข์”

หากแต่ความทุกข์นั้น ใช่ว่าจะไร้ซึ่งประโยชน์เสมอไป ความทุกข์เปรียบเสมือน “ปรอทวัดไข้” ที่ธรรมชาติบรรจงสร้างไว้ภายในใจของเรา ปรอทวัดไข้ใจนี้ จะคอยทำหน้าที่เตือนเราอยู่เสมอ เมื่อใดที่อุณหภูมิแห่งความทุกข์ภายในใจ ถึงขีดที่ธรรมชาติกำหนดไว้ว่าจะต้องดูแลรักษา มันจะส่งสัญญาณคอยเตือนเราว่า หากไม่รีบดูแลรักษา “อาการป่วยจิตขั้นโคม่า” กำลังจะเข้ามาเยี่ยมเยือน

เมื่อร่างกายป่วย “ยา” คือ สิ่งที่ช่วยให้ฟื้นคืนสภาพ แต่เมื่อใดที่ใจป่วย “สมาธิ” คือ ยาที่ช่วยบำรุงจิตใจ ...น้อยคนนัก ที่จะรู้จักพักใจโดยใช้สมาธิ ...ยิ่งเมื่อยามสุข ยิ่งประมาทในทุกข์ ยิ่งไร้ซึ่งสติ ฉะนั้น เมื่อใดที่ใจของเราเริ่มมีทุกข์ จงใช้วิธีปลุกให้จิตตื่นจากความทุกข์โดยใช้สมาธิ เมื่อเรามีสมาธิ สติจึงมาปัญญาจึงเกิด สรรพคุณแห่งสมาธิจะทำหน้าที่คอยไล่ตะเพิด เชื้อโรคร้ายที่ทำให้เกิดความทุกข์ในจิตใจ

บทสรุปนี้ จึงชี้ให้เห็นข้อดีของการมีความทุกข์ หรือ “ปรอทวัดไข้ใจ” ที่จะคอยเตือนเราว่าวันหรือเวลาใด ที่ใจของเราต้องการ “ยาบำรุง” ...เพียงแค่ผ่อนคลาย หลับตา ปล่อยวาง เพื่อสอนใจให้รู้จัก “หยุด” เสียบ้าง สมาธิจะกระจ่าง สงบ ใส และ สว่างภายในจิตของเรา


******************

เรื่อง/เรียบเรียง โดย มงคลพระคาถา




บทสวดบูชาพระพิฆเนศวร


การสวดบูชา พระพิฆเนศวร พระพิฆเนศ พระคเณศ พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ
หรือ พระคณปติ นั้น แต่เดิมกาลนานมา ตามตำรามีอยู่ด้วยกันหลากหลายบท
หากแต่ในที่นี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึง "บทหลักสำคัญ" ที่นิยมสวดบูชากันตามหลักสากล
โดยก่อนภาวนา หากท่านนับถือพระพุทธศาสนา ให้ตั้งมะโม 3 จบ แล้วจึงกล่าว

โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ (บางตำรา ออกเสียงว่า นะมะฮา)

*ในการสวดบูชา สามารถภาวนา 1 , 3 , 5 , 7 , 9 หรือกี่จบก็ได้
สำคัญที่การน้อมจิตภาวนา จะต้องประกอบด้วยความศรัทธาจากใจจริง