พระคาถาบูชา พระวิษณุกรรม (พระวิศวกรรม)


พระวิษณุกรรม หรือ พระวิศวกรรม (บางตำนานเรียกว่า พระวิสสุกรรม, พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม) ท่าน คือ เทพเทวดานายช่างใหญ่ของ พระอินทร์ โดยตามตำนานได้กล่าวเอาไว้ว่า ท่านคือผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่างๆ มากมาย ให้เกิดขึ้น และเป็นผู้ที่นำวิชาช่างมาสอนแก่มนุษย์ นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและใช้งานสิ่งของต่างๆ จนมีการพัฒนารูปแบบมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ช่างไทยแขนงต่างๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยเรามักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน โดยนิยมสร้างอยู่สองท่า คือ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือ ผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือ ดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก

ปัจจุบันมักจะมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ พระวิษณุกรรม และ พระวิษณุ ของศาสนาฮินดู เพราะคนไทยส่วนใหญ่มักจะนิยมเรียก พระวิศวกรรม ว่า พระวิษณุกรรม และในที่สุดก็ได้กร่อนลงเหลือเพียง “พระวิษณุ” ซึ่งเป็นชื่อของเทพที่คนไทยรู้จักกันในฐานะหนึ่งใน 3 แห่งองค์เทพที่สำคัญของศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และ พระศิวะ ทำให้หลายคนเข้าใจว่าพระวิษณุ คือ เทพแห่งวิศวกรรม ซึ่งถือเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ในพระไตรปิฎก (อรรถกถา) กล่าวว่า พระวิษณุกรรม ท่านเป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์ (ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า) เช่นในพระเวสสันดรชาดก ท่านเป็นผู้สร้างบันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว ทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา)

นอกจากท่านจะเป็นสถาปนิกและเป็นวิศวกรด้านโยธาและสำรวจ ดังจะเห็นได้จากผลงาน 2 ประการที่ว่านี้แล้ว พระวิศวกรรม หรือ พระวิษณุกรรม ท่านยังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย กล่าวคือ ท่านเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์ ซึ่งเป็นกงล้อหมุนรอบองค์พระสถูป ปกปักรักษาป้องกันมิให้บุคคลเข้าใกล้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพาน และอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในองค์พระสถูปที่ว่านี้

ตามความเชื่อของคนไทยนั้น ให้ความเคารพและศรัทธาองค์พระวิศวกรรม หรือ พระวิษณุกรรม เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากความเชื่อและศรัทธาที่แฝงไว้ในชื่อของเมืองหลวงที่ว่า “กรุงเทพมหานคร อมรรัตรโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

ซึ่งแปลความหมายได้ว่า พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งพระนครแห่งนี้ ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์ หรือ ท้าวอมรินทร์เทวาธิราช) พระราชทานให้ พระวิษณุกรรม ลงมาเนรมิตไว้ โดยสรุปคือ กรุงเทพมหานครฯ คือเมืองที่ พระวิษณุกรรม สร้างตามพระบัญชาของ พระอินทร์ นั่นเอง

พระคาถาบูชา พระวิษณุกรรม หรือ พระวิศวกรรม นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายบทสวดหลายตำรา หากแต่ความสำคัญอยู่ที่การน้อมจิตภาวนา จะต้องประกอบด้วยความศรัทธาจากใจจริง (ก่อนภาวนา ให้ตั้งมะโม 3 จบ แล้วจึงกล่าว)

โอม นะโม วิษณุกรรม นะมะ ภะวันตุเม 

ทุติยัมปิ นะโม วิษณุกรรม นะมะ ภะวันตุเม 

ตะติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตะตัญจะ มหาลาโภ

หรือ

โอม ปะระ เมสสะนะ มัสสะการัม 

ภูปัสสะวะ วิษณุกรรม ประสิทธิ

นะมัตเต นะมัตเต นะมัตเต 

หรือ

อะหังวะโต พระวิษณุเถโร อะโตวะหัง นิติวะตัง ลาภังวะโส

*************************


ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก


ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก คือ พระคาถาโบราณที่เปิดกรุได้ ณ เมืองสวรรค์โลก ซึ่งจารเป็นอักษรขอมจารึกไว้ในใบลาน โดยมีความเชื่อว่า หากผู้ใดสวดมนต์ภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำ ผู้นั้นจะปราศจากทุกข์ภัย ไร้ซึ่งอันตรายใดๆ ทั้งหลาย ทั้งปวง โดยก่อนที่จะสวดมนต์ภาวนาพระคาถา ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก นั้น ผู้สวดพึงสำรวมทั้งกาย วาจา และใจ ระลึกถึงพระพุทธองค์ด้วยจิตอันสดใส แล้วจึงเริ่มสวดภาวนาอย่างตั้งใจและศรัทธา (ตั้งนะโม 3 จบ ก่อนสวดภาวนา)

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

๑. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา

๒. อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ

สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ

วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ

สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ สุคะตัง สิระสา นะมามิ

โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

๓. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

๔. อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ

ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ

สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ พุทธัง สิระสา นะมามิ

๕. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

๖. อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๗. อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๘. อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๙. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา

สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา

สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา

สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๐. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๑. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๒. กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชมภูทีปัญจะอิสสะโร

กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะ นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง

อา ปา มะ จุ ปะ ที มะ สัง อัง ขุ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ โส โส สะ

สะ อะ อะ อะ อะ นิ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ อิ สวา สุ สุ สวา อิ

กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ

๑๓. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะ อา ยาวะชีวัง

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา

๑๔. กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมา สัมพุทโธ

สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน

อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู

มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมมาสัททะ ปัญจะ สัตตะ

สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๕. ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุ ยะ ปะ กะ

ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๖. นิมมานะระติ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ

สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๗. ปะระนิมมิตะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๘. พรหมมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา

ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ

พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะฯ

๑๙. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ

วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ อัตติ อัตติ

มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๐. อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง

จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง

อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง

สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง

อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง

สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

๒๑. สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง

โมกขัง คุยหะกัง ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง

สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๒. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา

๒๓. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ

สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๔. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ

สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๕. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ

สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

๒๖. นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ

สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง

๒๗. นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

ยาวะ ตัสสะ หาโย นะโม อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

อุ อะมะ อาวันทา นะโม พุทธายะ นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ

อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา


พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)

๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก

๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วย
ความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว
ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า

๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส

๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า

๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ
ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และ ชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ
ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และ ชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ
ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และ ชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ
น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และ ชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ
อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา และ ชั้นดาวดึงส์

๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ

๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน

๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ
คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ
คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ
คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค

๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ
คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ
คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ
คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล

๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป ธรรมะฝ่ายกุศล
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก
ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก
ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง
ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ
ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร

๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา
ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา
ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยม
ของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์
เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี

๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า
ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี
จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน

๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า
ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้
ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้
ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง



คาถาบูชาหลวงปู่ทวด


หลวงปู่ทวด หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือ สมเด็จพระราชมุนี สามีรามคุณูปจารย์ (ปู สามีราโม) คือ พระเกจิอาจารย์รูปสำคัญแห่งสยามประเทศ ซึ่งสันนิษฐานว่าท่านดำรงชีวิตอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยตำนานความศรัทธาของชาวไทยในปัจจุบันนั้นมักนิยมเชื่อกันว่า อุบัติเหตุเภทภัยต่างๆ นาๆ จะไม่บังเกิดแก่ผู้สักการบูชา ด้วยจิตที่ตั้งมั่นในความศรัทธาอย่างแน่นอน โดยการสักการบูชาหลวงปู่ทวด นั้น ก่อนภาวนาพระคาถา ให้ตั้ง นะโม 3 จบ ก่อน แล้วจึงภาวนาว่า

นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (3จบ)

ในระหว่างภาวนาพระคาถานั้น ให้น้อมจิตระลึกถึงองค์ท่าน ด้วยความตั้งมั่นและศรัทธา





พระพุทธชัยมงคลคาถา หรือ พาหุงมหาการุณิโก


พระพุทธชัยมงคลคาถา หรือที่นิยมเรียกว่า พระคาถาพาหุง ตามวรรคแรกของพระคาถา หรือ พาหุงมหาการุณิโก หรือ พาหุงมหากา นั้น เป็นพระคาถาโบราณที่กล่าวถึง การสรรเสริญชัยชนะทั้งแปดประการที่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า) ทรงมีเหนือมนุษย์และอมนุษย์ กล่าวคือ

บทที่ 1 สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ (ชนะพระยามาร ด้วยทานบารมี)
บทที่ 2 สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์ (ชนะอาฬะวกะยักษ์ ด้วยขันติบารมี)
บทที่ 3 สำหรับเอาชนะสัตว์ร้าย หรือ คู่ต่อสู้ (ชนะช้างนาฬาคีรี ด้วยมตตาบารมี)
บทที่ 4 สำหรับเอาชนะโจร (ชนะองคุลีมาล ด้วยการแสดงปาฏิหาริย์)
บทที่ 5 สำหรับเอาชนะการแกล้งใส่ร้าย กล่าวโทษ หรือคดีความ (ชนะนางจิญจมาณวิกา ด้วยความสงบ)
บทที่ 6 สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ (ชนะสัจจะกะนิครนถ์ ด้วยการปัญญาแห่งเจรจา)
บทที่ 7 สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย (ชนะพระยานาคนันโทปนันทะ ด้วยกุศโลบาย)
บทที่ 8 สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน (ชนะผกาพรหม ด้วยเทศนาญาณ)

โดยตามหลักนิยม ก่อนที่จะเริ่มภาวนา พระพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากาฯ) นั้น หากมีเวลาเพียงพอ ให้เริ่มขึ้นต้นด้วย บทสวดนมัสการพระพุทธเจ้า (ตั้งนะโม3จบ) , บทสวดไตรสรณคมน์ , บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จากนั้นให้เริ่มภาวนา บทพาหุงฯ และปิดท้ายด้วย บทมหากาฯ จึงจะถือว่าครบถ้วนกระบวนความ แต่หากมีเวลาที่จะภาวนาเพียงน้อยนิด ให้ใช้วิธีกำหนดจิตแล้วภาวนา พระคาถาหัวใจพาหุง ว่า พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ


บทสวดนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)

บทสวดไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

บทพาหุงฯ

1. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
2. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
3. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
4. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
5. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
6. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
7. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
8. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

* สวดให้ผู้อื่น หรือ สวดร่วมกับผู้อื่น ให้ใช้คำว่า เต
ถ้าสวดให้ตัวเอง ให้ใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

บทสวดมหาการุณิโก (ชัยยะปริตร)

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต* ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต* ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*

* สวดให้ผู้อื่น หรือ สวดร่วมกับผู้อื่น ให้ใช้คำว่า เต
ถ้าสวดให้ตัวเอง ให้ใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

** พรัหมะ อ่านว่า พรัมมะ


โชคดีที่มีความทุกข์


มนุษย์ คือ สิ่งมีชีวิตที่มักจะไม่ยอมหยุด เราไม่ยอมหยุดคิด หยุดกิน หยุดใช้ หยุดหา แม้ในบางเวลาที่เราผ่อนคลายร่างกายด้วยการนอนหลับตา เรายังไม่ยอมเลิกราที่จะคิดวิตกกังวล ด้วยเหตุนี้จึงมิใช่เรื่องแปลก ที่หลายคนมักจะรู้สึก “เหนื่อย” ...ยิ่งโต ยิ่งมี ยิ่งผ่านไปนานปีก็ยิ่งเหนื่อย ความอ่อนล้า เครียด ตึง เมื่อย จึงแปรสภาพเป็นกาฝากไม้เลื้อย เกาะกินจิตใจที่แสนจะเหน็ดเหนื่อย ให้สึกกร่อนไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็น “ความทุกข์”

หากแต่ความทุกข์นั้น ใช่ว่าจะไร้ซึ่งประโยชน์เสมอไป ความทุกข์เปรียบเสมือน “ปรอทวัดไข้” ที่ธรรมชาติบรรจงสร้างไว้ภายในใจของเรา ปรอทวัดไข้ใจนี้ จะคอยทำหน้าที่เตือนเราอยู่เสมอ เมื่อใดที่อุณหภูมิแห่งความทุกข์ภายในใจ ถึงขีดที่ธรรมชาติกำหนดไว้ว่าจะต้องดูแลรักษา มันจะส่งสัญญาณคอยเตือนเราว่า หากไม่รีบดูแลรักษา “อาการป่วยจิตขั้นโคม่า” กำลังจะเข้ามาเยี่ยมเยือน

เมื่อร่างกายป่วย “ยา” คือ สิ่งที่ช่วยให้ฟื้นคืนสภาพ แต่เมื่อใดที่ใจป่วย “สมาธิ” คือ ยาที่ช่วยบำรุงจิตใจ ...น้อยคนนัก ที่จะรู้จักพักใจโดยใช้สมาธิ ...ยิ่งเมื่อยามสุข ยิ่งประมาทในทุกข์ ยิ่งไร้ซึ่งสติ ฉะนั้น เมื่อใดที่ใจของเราเริ่มมีทุกข์ จงใช้วิธีปลุกให้จิตตื่นจากความทุกข์โดยใช้สมาธิ เมื่อเรามีสมาธิ สติจึงมาปัญญาจึงเกิด สรรพคุณแห่งสมาธิจะทำหน้าที่คอยไล่ตะเพิด เชื้อโรคร้ายที่ทำให้เกิดความทุกข์ในจิตใจ

บทสรุปนี้ จึงชี้ให้เห็นข้อดีของการมีความทุกข์ หรือ “ปรอทวัดไข้ใจ” ที่จะคอยเตือนเราว่าวันหรือเวลาใด ที่ใจของเราต้องการ “ยาบำรุง” ...เพียงแค่ผ่อนคลาย หลับตา ปล่อยวาง เพื่อสอนใจให้รู้จัก “หยุด” เสียบ้าง สมาธิจะกระจ่าง สงบ ใส และ สว่างภายในจิตของเรา


******************

เรื่อง/เรียบเรียง โดย มงคลพระคาถา




บทสวดบูชาพระพิฆเนศวร


การสวดบูชา พระพิฆเนศวร พระพิฆเนศ พระคเณศ พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ
หรือ พระคณปติ นั้น แต่เดิมกาลนานมา ตามตำรามีอยู่ด้วยกันหลากหลายบท
หากแต่ในที่นี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึง "บทหลักสำคัญ" ที่นิยมสวดบูชากันตามหลักสากล
โดยก่อนภาวนา หากท่านนับถือพระพุทธศาสนา ให้ตั้งมะโม 3 จบ แล้วจึงกล่าว

โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ (บางตำรา ออกเสียงว่า นะมะฮา)

*ในการสวดบูชา สามารถภาวนา 1 , 3 , 5 , 7 , 9 หรือกี่จบก็ได้
สำคัญที่การน้อมจิตภาวนา จะต้องประกอบด้วยความศรัทธาจากใจจริง



พระคาถา ตำรับ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม



คาถาหนุมาน ตำรับ หลวงพ่อพูล


ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วจึงภาวนาว่า

โอม หะนุมานัง พะพลับพลานัง

พุทธัง อำโน พุทโธ กินนัง จะปาคะรัง จึงมาบังกายา

ธัมมัง กินโน ธัมโม อำนัง จะปาคะรัง จึงมาบังกายา

สังฆัง อำโน สังโฆ กินนัง จะปาคะรัง จึงมาบังกายา

สัพเพชะนา พะหูชะนา เตชะสุเนมะ ภูจะนาวิเว ฯ

******************


คาถาเสืออาคม ตำรับ หลวงพ่อพูล


ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วจึงภาวนาว่า

พยัคฆะ ราชานะ อิสะนะสุ สิงหะคะฆะ

******************


คาถาสิงห์เมตตามหาบารมี ตำรับ หลวงพ่อพูล


ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วจึงภาวนาว่า

ตะมัตถัง ปะกาเสนโต ราชะสีโห ราชะราชา

ตะถาอาหะ นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ

******************

คาถานะเมตตา ตำรับ หลวงพ่อพูล

ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วจึงภาวนาว่า

เอหิลาภังมานิมามา เอหิโภคังมานิมามา

นะร่ำไรรักใคร่เห็นหน้า โมละรวยช่วยพามา

พุทถามหา ธาร้องทัก ยะกวักมือ นะกะโรโหติ

จงมาบังเกิดเป็นนะเมตตา เงินทองไหลมา นะชาลีติ

******************


บทแผ่เมตตา และ อุทิศส่วนกุศล


บทสวดแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร

อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา

อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา

อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา

อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี

อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา

บทแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ

อะหัง นิททุกโข โหมิ

อะหัง อะเวโร โหมิ

อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ

บทแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา อะเวราโหนตุ

อัพยาปัชฌาโหนตุ อะนีฆาโหนตุ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ



คาถาบูชาพระพุทธชินราช


ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ จากนั้นจึงกล่าว

อิเมหิ นานาสักกาเรหิ อะภิปูชิเตหิ

ทีฆายุโก โหมิ อะโรโค สุขิโต

สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ปิยัง มะมะ

ปะสิทธิ ลาโภ ชะโย โหตุ สัพพะทา

พุทธะชินะราชา อภิปาเลตุ มัง นะโมพุทธายะฯ



พระคาถา ตำรับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค



ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ จากนั้นจึงกล่าว พระคาถาบทนำ (ครั้งเดียว)

พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ

จากนั้นจึงเริ่มสวด พระคาถา ว่า

วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย

พุทธัสสะ มาณี มามะ พุทธัสสะ สวาโหม.

สวด 3 จบ, 5 จบ, 7 จบ หรือ 9 จบ แล้วแต่สะดวก

หมั่นสวดพระคาถานี้อย่างสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผล

******************

คาถามหาอำนาจ ตำรับ หลวงพ่อปาน

ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ จากนั้นจึงกล่าว

เอวัง ราชะสีโห มะหานาทัง สีหะนาทะกัง

สีหะนะเม สีละเตเชนะ นามะ ราชาสีโห

อิทธิฤทธิ์ พระพุทธังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง

อิทธิฤทธิ์ พระธัมมังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง

อิทธิฤทธิ์ พระสังฆังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง

สำหรับพระคาถามหาอำนาจนั้น บางตำรากล่าวไว้ว่า หากผู้ประพฤติดีมีศีลธรรม

ใช้เสกน้ำล้างหน้าในยามเช้า อำนาจบารมีจะบังเกิด ศัตรูภัยพาลจะพ่ายสิ้น

******************

คาถาอิทธิฤทธิ์ ตำรับ หลวงพ่อปาน

พุทโธ พุทธัง นะ กันตัน อะระหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ

บทนี้เป็นคาถาป้องกันตัว เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีศาสตาวุธร้ายแรงให้ภาวนาดังนี้

อุทธัง อัทโท นะโม พุทธยะ



คาถาอาวุธ (ตำรามนต์พิธี)


สักกัสสะ วะชิราวุธัง

ยะมัสสะ นัยยาวุธัง

อาฬะวะกัสสะ ทุสาวุธัง

เวสสุวัณณัสสะ คะธาวุธัง

จัตตาโร วา อาวุธานัง

เอเตสัง อานุภาเวนะ

สัพเพ ยักขา ปะลายันติ.

******************

พระคาถานี้ ใช้เสกมือหรือเสกศัสตราอาวุธได้ เมื่อเวลาจะประจัญบานกับศัตรู

ใช้เสกต้นข่าต้นไพลขับไล่ตีผี ให้หนีกระเจิง ดีนักแล

* คัดลอกจาก "ตำรามนต์พิธี" โดย ท่านพระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวัณโณ)



คาถาบูชาพระสังกัจจายน์


(ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ)

กัจจานะ จะ มหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะสุภา

สิตัง พุทธะตังสะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง

ปิโยพรหม นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง

สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิตถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯ


คาถาพระเจ้า 5 พระองค์ (บูชาหลวงพ่อโสธร)


ก่อนภาวนาให้ตั้ง นะโม 3 จบ จากนั้นจึงกล่าว

นะ ทรงฟ้า โม ทรงดิน พุทธ ทรงสินธุ์ ธา ทรงสมุทร ยะ ทรงอากาศ

พุทธังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด ศัตรูภัยพาล วินาศสันติ

นะกาโร กุกกุสันโธ สิโรมัชเฌ โมกาโร โกนาคะมะโน นานาจิตเต พุทธกาโร

กัสสะโป พุทโธ จะ ทะเวเนเต ธากาโร ศรีศากกะยะมุนี โคตะโม ยะกันเน ยะกาโร

อะริยะ เมตตรัยโย ชิวหาทีเต ปัญจะพุทธา นะมามิหัง



คาถาบูชาพระพรหม


โอม ปะระเมสะนะมัสการัม องการะนิสสะวะ รัง พรหมเรสสะยัม

ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัม ทะระมา ยิกยานัง ยะไวยะลา

คะมุลัม สะทานันตะระ วิมุสะตินัน นะมัตเต นะมัตเตร

จะ อะการัง ตะโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมัน ตะรามา

กัตถะนารัมลา จะสะระวะปะติตัม สัมโภพะ กลโล ทิวะทิยัม มะตัมยะ



คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)


พระคาถา พระพุทธเจ้าชนะมาร (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)

ปัญจะมาเร ชิโนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสติ
ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลังฯ

พระคาถาบทนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ป้องกันภัยอันตรายได้ทั้งปวง



พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า



อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ
อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ


ขออัญเชิญคุณแห่งพระพุทธเจ้าอันวิเศษ 
คุณแห่งกระแสพระนิพพานอันประเสริฐ 
ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสรรเสริญแล้ว 
จงเป็นมหาวิภูษิตาภรณ์ประดับด้วยมงกุฎทิพย์
และเครื่องทรงแห่งพระเจ้ามหาจักรพรรดิ 
ครอบคลุมข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ

อานิสงส์ของพระคาถานี้ เรียกได้ว่าครอบจักรวาล นำไปใช้ในทางกุศลได้ทุกเรื่อง โดยมีประวัติของการใช้พระคาถานี้มายาวนาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 ท่านก็ทรงพระคาถานี้เป็นประจำ มีที่ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์ ก็ครั้งที่ถูกทูตต่างประเทศนำม้าเทศตัวใหญ่แต่เป็นม้าพยศ มาท้าให้ท่านทรง พระองค์ท่าน ได้ใช้พระคาถานี้เสกหญ้าให้ม้ากินก่อน ม้าตัวนั้นก็กลับเชื่องให้พระองค์ทรงม้าแต่โดยดี เรื่องนี้ทำให้รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงสร้างพระบรมรูปทรงม้าถวายเสด็จพ่อของท่านได้ทรงแฝงนัยยะ
แห่งกฤษดาอภินิหารนี้เพื่อเทิดทูนพระคุณท่านเอาไว้

หลักในการภาวนาพระคาถาให้ศักดิ์สิทธิ์นั้น มีพื้นฐานจากจิตเป็นสำคัญ หากจิตมีสมาธิสูงตั้งมั่น พระคาถาก็จะทรงความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น เมื่อจิตสถิตอยู่ในสมาธิ ให้ทรงมงกุฎพระพุทธเจ้านี้เอาไว้ตลอดเวลา ประหนึ่งการทรงอารมณ์ในพุทธานุสติกรรมฐาน



บทสวดบูชาองค์พระพิราพ

พระพิราพ คือ อวตารปางหนึ่งของ พระอิศวร หรือ ศิวะอวตาร ถือเป็นบรมครูสูงสุดของทั้งฝ่ายนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ โดยเชื่อกันว่า พระองค์นั้นเป็นภาคของ พระอิศวรปางไภรวะ (ปางดุร้าย) เสมือนหนึ่งพระแม่กาลี ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของ พระอุมา ในคติดั่งเดิมเรียกองค์พระพิราพว่า พระไภรวะ พระไภราวะ หรือ พระไภราพ ซึ่งเป็นคนละองค์กันกับ ยักษ์วิราธ หรือ พระพิราพป่า ในเรื่องรามเกียรติ์

พระองค์ คือ บรมครูยักษ์ เป็นมหาเทพแห่งสงคราม การทำลายล้าง บันดาลได้ทั้งความเป็นและความตาย เป็นมหาเทพปางขจัดความชั่วร้าย และขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้สิ้นไป โดยในประเทศอินเดียถือว่าพระพิราพ หรือ พระไภรวะ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดท่ารำที่เรียกว่า วิจิตรตาณฑวะ ซึ่งเป็นท่ารำท่าหนึ่งใน 108 ท่ารำของพระศิวะ ดังนั้นจึงถือว่าท่านเป็น นาฏราช ที่หมู่นาฏศิลป์อินเดียให้ความเคารพยำเกรง เมื่อนาฏดุริยางค์ศิลป์ของไทยนับเอาศาสตร์แขนงนี้มาจากอินเดีย คติการนับถือพระอิศวรนารายณ์ทวยเทพทั้งหลาย รวมไปถึง พระไภรวะ จึงติดตามมา โดยคติการนับถือพระพิราพ กับการแสดงนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบันทึกหลักฐานเป็นที่แน่ชัดในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)

กรมศิลปากรได้มีการชำระประวัติของ พระพิราพ โดยนักวิชาการ และมีการเผยแพร่สร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลทั่วไป แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก โดยในปัจจุบันคติการนับถือ พระพิราพ แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากครูบาอาจารย์ และพระเกจิอาจารย์หลายสำนัก นิยมสร้างวัตถุมงคลที่มีลักษณะของพระพิราพขึ้น โดยส่วนใหญ่มักจะมีบทสวดบูชาดังนี้

อิมัง พุทธัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
ธัมมัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
สังฆัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
พุทโธ สิทธิฤทธิ ธัมโม สิทธิฤทธิ สังโฆ สิทธิฤทธิ
สุขะ สุขะ ไชยะ ไชยะ ลาภะ ลาภะ
สัพพะธัมมานัง ประสิทธิเม ประสิทธิเต
พุทโธ สวัสดีมีไชย ธัมโม สวัสดีมีไชย สังโฆ สวัสดีมีไชย
อิมัง ปทีปัง สุรังคันธัง อธิฏฐามิ

* บทสวดบูชาองค์พระบรมครูพระพิราพ คัดลอกมาจาก
"สมุดพระตำรา พิธีไหว้ครู และพิธีครอบโขน ละคร" ของ พระยานัฏการุรักษ์



คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ


คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ

ตั้ง นะโม 3 จบ ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ และ องค์ท่านท้าวเวสสุวรรณ

ปุตตะ กาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชาชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อรหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ


คาถาชุมนุมเทวดา และ คาถาอัญเชิญเทวดา (กลับ)


คาถาชุมนุมเทวดา (สิบสองตำนาน)

สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตรา คัจฉันตุ เทวะตา
สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง ฯ
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ฯ
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

คาถาอัญเชิญเทวดา (กลับ)

ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน
เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
สัพเพ เทวานุโมทันตุ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ สีลัง รักขันตุ สัพพะทา
ภาวะนาภิระตา โหตุ คัจฉันตุ เทวะตาคะตา
สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโสฯ

บทชุมนุมเทวดา  หรือที่นิยมเรียกกันว่า บทสัคเค คือ บทอัญเชิญเทวดาให้มาร่วมฟังธรรม
โดยมักจะใช้ขึ้นต้นก่อนสวดบทพระคาถาอื่นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลในการเจริญภาวนา



พระคาถาชินบัญชร


พระคาถาชินบัญชร ถือเป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดมาจากลังกา

โดยท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้ค้นพบจากคัมภีร์โบราณ

และได้ดัดแปลงแต่งเสริมเพื่อความมงคล ผู้ใดที่สวดภาวนาพระคาถานี้อยู่เป็นประจำ

สิริมงคลแห่งชีวิตนั้นจะบังเกิดแก่ตน โดยก่อนที่จะเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม 3 จบ

ระลึกถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พร้อมทั้งตั้งจิตอธิษฐานแล้วจึงเริ่มสวด

******************

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

******************

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง 

อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา 

อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ 

มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ 

******************

1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง 

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา 

สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน 

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ

โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก. 

5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล

กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร

นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว

7. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก

โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี

เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.

9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา

เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา

ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง 

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

12. ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา

วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา

วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล 

สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข

ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว

ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ

สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย

สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

******************

หากมีเวลาน้อย ไม่สามารถภาวนาบทเต็มได้ ให้ท่องบทย่อของพระคาถาชินบัญชร ดังนี้

ชินะปัญชะระปะริตตัง มัง รักขะตุ สัพพะทา

(ขอพระชินบัญชรปริตร จงรักษาข้าพเจ้า ตลอดกาลทุกเมื่อ)

หัวใจพระคาถาชินบัญชร

ชะ จะ ตะ สะ สี สัง หะ โก ทะ กะ เก นิ กุ โส

ปุ เถ เส เอ ชะ ระ ถะ ขะ อา ชิ วา อา วะ ชิ สัง อิ ตัง